ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ลาวมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตและศิลปะ และทั้งหมดนี้มีที่หลวงพระบาง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมี 18 จังหวัด และ 1 นครหลวง แต่เหนือจรดใต้มีพื้นที่ประมาณ 1,162 กิโลเมตร โดยมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 7 ล้านคน มี 49 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกแบ่งอย่างเป็นทางการ มีสี่ภาษาหลัก ส่วนใหญ่แม่นไทลาว ค่าเฉลี่ยโดยประมาณ 55% ของประชากรทั้งหมด และเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรประกอบด้วยหลายชนกลุ่มน้อย

การจัดหมวดหมู่ของกลุ่มชนเผ่าถูกคิดค้นขึ้นในปี 1950 แบ่งออกเป็นสามประเภทอิงตามที่อยู่อาศัยของพวกเขา : เผ่าลาวลุ่ม (กลุ่มคนที่อาศัยอยู่พื้นที่ราบลุ่ม), เผ่าขมุ (กลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเนินเขา) และเผ่าลาวสูง (กลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูง) ระบบนี้จะไม่ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขดั่งกล่าวจะยังคงเป็นที่นิยม และได้ยินเป็นประจำจนถึงทุกวันนี้ แต่การใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์มีความสำคัญกว่า เช่น เผ่าม้ง เผ่าอาข่า หรือ เผ่าขมุ

ใน 49 กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันนี้ก็จะมีประเพณี ศาสนา และวิถีชีวิต ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ประเพณีของเผ่าไทลาวจะอาศัยอยู่บ้านไม้บนเสาตามริมฝั่งแม่น้ำ บูชาพุทธศาสนาและจิตวิญญาณ ทำการเกษตรทุ่งนาข้าวเป็นอาชีพหลัก แต่ประเพณีของชาวม้งจะอาศัยอยู่บ้านไม้ติดพื้นดินและหลังคามุงหญ้า บูชาจิตวิญญาณและบรรพบุรุษ และทำการเกษตรปลูกข้าวไร่เป็นอาชีพหลัก

ในจังหวัดหลวงพระบางคุณจะพบหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่:

เผ่าขมุ

เผ่ากึมมุ มักจะสะกดว่า ขมุ – เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหลวงพระบาง พวกเขาจะได้รับการยอมรับสำหรับการมีความรู้ด้านป่าไม้ การเก็บพืชป่าและเห็ดสำหรับอาหารและยารักษาโรค การนำใช้ไม้ไผ่ หวาย และเถาวัลย์ป่า สานตะกร้า, กระเป๋าและของใช้ในครัวเรือนอื่นๆ ประเพณีของเผ่าขมุ พวกเขามีความเชื่อที่แข็งแกร่งในการนับถือวิญญาณ นับถือผี และสานไม้ไผ่ถือเป็นเครื่องรางของขลังนำไปแขวนไว้ที่ด้านหน้าของบ้านและเพื่อกักขังวิญญาณชั่วร้ายให้อยู่ในนั้น

เผ่าม้ง

เผ่าม้งเป็นที่รู้จักดีสำหรับการเย็บปักถักร้อยที่มีความละเอียดอ่อนและประณีต ผ้าป่านทอมือ และการออกแบบลวดลายผ้าบาติกที่ซับซ้อนซึ่งพวกเขามักจะขายในตลาดกลางคืนหลวงพระบาง การเฉลิมฉลองปีใหม่ม้งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมหรือมกราคม เฉลิมฉลองในหนึ่งสัปดาห์หรือนานถึง 10 วัน และเป็นประเพณีที่สำคัญสำหรับคนหนุ่มสาวในการหาคู่ครอง ประเพณีของชาวม้งจะอาศัยอยู่บ้านไม้ติดพื้นดินและหลังคามุงหญ้า

เผ่าไท

เผ่าไทรวมถึงเผ่าไทลาว – เป็นชนกลุ่มใหญ่ในประเทศลาว ประเพณีของเผ่าไทลาวจะอาศัยอยู่บ้านไม้บนเสาตามริมฝั่งแม่น้ำ บูชาพุทธศาสนาและจิตวิญญาณ ทำการเกษตรทุ่งนาข้าวเป็นอาชีพหลัก กลุ่มชนเผ่าไทรวมถึงเผ่าไทดำและไทแดง

เผ่าอิ้วเมี่ยน (หลือ เย้าเมี่ยน)

เผ่าอิ้วเมี่ยนได้อพยพมาจากประเทศจีนและเข้ามาดำรงชีวิตอยู่ในประเทศลาวนานกว่า 200 ปี ได้นำเอาประเพณีของลัทธิเต๋าและวิธีการเขียนสคริปต์ภาษาจีนมาด้วย แม่หญิงเผ่าอิ้วเมี่ยนเก่งในเรื่องของการเย็บปักถักร้อย เช่น กางเกง ผ้าคาดเอว กระเป๋า และหมวกที่มีสีสันลวดลายที่เป็นรูปภาพรอยเท้าของสัตว์และพืช เสื้อผ้าของผู้หญิงเผ่าอิ้วเมี่ยนมีผ้าโพกศีรษะและแจ็คเก็ตที่มีคอลูกไม้สีแดง

เผ่าลื้อ

วัดเป็นหัวใจของหมู่บ้านสำหรับคนไทลื้อที่มีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผู้หญิงไทลื้อเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมด้วยมือ บ้านส่วนใหญ่จะมีเครื่องทอผ้ากี่ ย่างน้อยหนึ่งเครื่องที่ใช้ในการผลิตผ้า บ้านผานม หมู่บ้านไทลื้อตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของหลวงพระบาง เป็นหมู่บ้านทอผ้าที่เก่าแก่และยังคงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของสิ่งทอด้วยมือที่ส่งไปขายยังตลาดในเมืองและร้านบูติกต่างๆ

เผ่าภูน้อย

เผ่าภูน้อยเป็นตระกูลเดียวกับชาวเขมรและมีมากที่สุดในจังหวัดพงสาลีที่อยู่เหนือสุดของประเทศลาว พวกเขาทำการเกษตรข้าวไร่และประเพณีเชื่อถือว่าชีวิตเกิดขึ้นเพราะวิญญาณ เสื้อผ้าเผ่าภูน้อยแบบดั้งเดิมเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีครามเข้มตกแต่งด้วยปอมปอมสีแดงสดใส

Scroll to Top