งานเทศกาลใน 12 เดือน
ปฏิทินงานเทศกาลใน 12 เดือน
1
มกราคม
บุญพระเวส
- เทศกาลบุญพระเวสเป็นเทศกาลเพื่อระลึกถึงชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เกิดมาเป็นพระเวสสันดร ชึ่งเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธองค์ เป็นบุญปางใหย่ มีพิธีอย่างใหญ่โต งานบุญต่อเนื่องกัน 2-3 วัน
มีเรื่องเล่าในหนังสือมาลัยหมืน มาลัยแสนว่า พระมหาลัยเสด็จขึ้นไปบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ได้ถามถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์กับพระมาลัยว่า “ ถ้าท่านอยากพบพระองค์ อย่าฆ่าพ่อแม่ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้า อย่าปลุกระดมพระให้ตีกัน ให้อุตสาหะฟังเทศนาเรื่องเวสสันดรชาดกให้จบในวันเดียว” ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึ่งพร้อมกันจัดเทศกาลบุญพระเวส
ประเพณีบุญคุณข้าว (การสู่ขวัญข้าว)
การทำประเพณีบุญคุณข้าวเป็นประเพณีเก่าแก่แต่เดิมมา การทำบุญคุณข้าวของชาวบ้านจะไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จเมื่อไร โดยกำหนดให้ประเพณีนี้เริ่มในเดือนยี่หรือเดือนมกราคมของทุกปี เมื่อถึงฤดูเดือนยี่หรือถึงวันงานก็บอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วก็ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ นำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางพระสงฆ์แล้วก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในลานของตน และเพื่อเป็นการขออานิสงส์ต่างๆ
2
กุมภาพันธ์
ประเพณีบุญข้าวจี่ (มาฆบูชา)
บุญข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเ วียนเทียน รอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร
4
เมษายน
ปีใหม่ลาว (หลวงพระบาง)
งานประเพณีปีใหม่ลาว เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดในปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองและมีความสนุกสนานอย่างมาก ปีใหม่ลาวเป็นวันหยุดยาวระหว่างวันที่ 13 – 16 เมษายน ของทุกปี แม้ในช่วงเวลาที่เฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนามนั้น ในส่วนของพิธีตามประเพณีแล้ว ปีใหม่ลาวในหลวงพระบางจะมีวันสำคัญ คือ วันที่ 13 เมษายน จะมีตลาดนัดกลางเมืองหลวงพระบาง ในวันนั้นจะมีผู้คนในเมืองหลวงพระบางมาจับจ่ายใช้สอย เช่น ซื้อเสื้อผ้าใหม่ ซื้อสัตว์ที่ว่างจัดหน่ายไม่ว่าจะเป็น หอย ปู ปลา นก สัวต์ต่าง ๆ เหล่านี้ชาวบ้านจะนำไปปล่อยในตอนเย็น หลังจากที่ไปก่อเจดีย์ทรายที่เมืองจอมเพชร พอตกเย็นชาวบ้านก็จะไปอาบน้ำที่แม่น้ำโขง เพื่อชำระล้างร่างกายและสิ่งไม่ดีในปีเก่าให้ออกไปตามความเชื่อ ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน จะมีการแห่ขบวนและแห่นางสังขารทั้งเจ็ดพร้อมอัญเชิญเศียรของท้าวกบิลพรหมจากวัดมหาธาตุไปยังวัดเชียงทอง โดยมีขบวนแห่ที่สวยสดงดงามเป็นอย่างมาก สำหรับวันที่ 15 เมษายน ผู้คนเฉลิมฉลองกันตามปกติ และวันที่ 16 เมษายน จะมีการแห่นางสังขารกลับไปยังวัดมหาธาตุดังเดิม งานปีใหม่ลาวที่หลวงพระบางเป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ผู้คนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
5
พฤษภาคม
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟจะจัดขึ้นก่อนหน้าฤดูฝน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลซึ่งเป็นงานพิธีกรรมที่สนุกสนาน มีขบวนแห่บั้งไฟที่สวยงาม หลังจากแห่ขบวนบั้งไฟแล้วจะทำการยิงบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อสื่อสารกับเทวดาอีกองค์หนึ่งบนท้องฟ้าให้ช่วยโปรดประทานน้ำฝนลงมาสู่ท้องไร่ท้องนาและเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารตามความเชื่อ งานประเพณีนี้จัดขึ้นที่เมืองนาน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จากถนนทางหลวงสายใต้ของเมืองหลวงพระบาง
วันวิสาขบูชา
เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา”
7
กรกฎาคม
บุญเข้าพรรษา
บุญเข้าพรรษามีในช่วง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นเดือนที่พระสงฆ์อยู่จำพรรษาที่วัดตลอดสามเดือน นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป ไม่ไปค้างคืนที่อื่น ยกเว้นแต่มีกิจที่จำเป็นเท่านั้น ในวันแรกนี้มีประกอบพิธีทางศาสนา จะมีการทำบุญที่วัดต่าง ๆ ในตอนเช้าเหมือนกับชาวไทย
8
สิงหาคม
ประเพณีบุญแข่งเรือและบุญห่อข้าวประดับดิน
ในตอนเช้าของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 จะมีประเพณี “ห่อข้าวประดับดิน” ซึ่งเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงวิญญาณเร่ร่อนทั้งหลาย ก่อนถึงวันงานชาวหลวงพระบางจะเตรียม “ข้าวต้มมัด” ไว้สำหรับถวายพระที่วัดพร้อมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปยังผู้ล่วงลับ และ “ข้าวห่อโป้” หรือกรวยใบตองขนาดใหญ่ภายในบรรจุข้าวปลาอาหารและผลไม้ สำหรับไว้ทานแก่วิญญาณที่ไร้ญาติ ไปวางตามข้างทาง, ทางแยกหรือบริเวณรั้วหน้าบ้านให้เป็นทาน จึงเป็นที่มาของชื่อ “บุญห่อข้าวประดับดิน”
ตอนบ่ายของวันเดียวกันจะมีการแข่งเรือพาย เรียกว่า “ประเพณีบุญแข่งเรือ” ในอดีตแข่งเรือมีไว้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับในยามศึกสงคราม ต่อมาภายหลังจัดเพื่อเฉลิมฉลองให้เกิดความสนุกสนาน สามัคคี ระหว่างหมู่บ้านต่างๆ สำหรับแขวงหลวงพระบางแล้ว ในวันดังกล่าวจะมีการปิดการจราจร ถ.พูสี (เส้นเลียบแม่น้ำคาน) ทั้งสายตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น. เป็นต้นไป การแข่งเรือพาย (ส่วงเฮือ) ในหลวงพระบางนั้นแต่ละหมู่บ้าน จะส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีภาคเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ สามารถเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักให้แก่ทีมเรือพายจากหมู่บ้านใดก็ได้ ตามต้องการ ผู้ชนะจะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทน
9
กันยายน
ประเพณีบุญห่อข้าวสลาก
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จัดงานนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว วิญญาณเร่ร่อน หรือเปรต งานบุญห่อข้าวสลากจะห่างจากงานวันห่อข้าวประดับดิน 15 วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปยังที่อยู่ของตน
10
ตุลาคม
ประเพณีบุญไหลเรือไฟหรือออกพรรษา
เป็นการตักบาตรเทโว จะมีการจัดอาหาร การกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท)ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร มีการถวายผ้าจำพรรษา และปราสาทผึ้ง โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงามจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่หลวงพระบาง จะมีงานไหลเรือไฟ และงานลอยกระทง ส่วนที่นครหลวงเวียงจันทน์ จะมีงานส่วงเฮือ (แข่งเรือพาย)
12
ธันวาคม
ปีใหม่เผ่าขมุ
ขมุเป็นหนึ่งของชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศลาว พวกเขายังอาไศอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้จีน บางภากของประเทศไทยและเวียดนาม แต่ละปีพวกเขามารวมกันในเดือนธันวาคมเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ขมุ การฉลองใช้สถานที่ที่หมู่บ้านแตกต่างกันในแต่ละปีตามชานเมืองหลวงพระบางที่มีการสวมใส่เสื้อผ้าแบบดั้งเดิม และชาวขมุกำลังเล่นเกม มันเป็นเวลาที่ดีสุดของปีเพื่อดูคนเต้นรำ ด้วยหม้อดินขนาดใหญ่ ใส่น้ำเต็มไห คาบช่องปาก – เป็นการดูที่วิเสษมาก – นี้ก่อเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมอีกอย่างของเผ่าขมุ เหตุการณ์มักจะเริ่มต้น ด้วยพิธีบาสีสู่ขวัน พิเศษตามด้วยการร้องเพลง และเต้นรำ ขมุเป็นที่รู้จักดีสำหรับการต้มเหล้า กลั่นในหม้อดินขนาดใหญ่ และเก็บไว้ใต้ดิน หรือ ในที่มืดนานหลายเดือน เทศกาลนี้เป็นเวลาสำหรับการดื่ม และรับประทานอาหารลาว
ปีใหม่เผ่าม้ง
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวม้ง ชาวม้งจะมารวมตัวกันและจัดกิจกรรมสนุกสนานต่างๆ ทั้งการละเล่น การแสดงความสามารถร้องรำทำเพลงร่วมกัน หนึ่งในการละเล่นของชาวม้ง คือ การโยนลูกบอล เพื่อหาคู่ครองเป็นหนึ่งในการละเล่นที่เป็นสีสันให้กับงานปีใหม่ม้งเป็นอย่างมาก และยังมีพิธีกรรมต้อนรับปีใหม่ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้อาวุโส เพื่อสืบสานจารีตประเพณีของชาวม้ง
งานเคาท์ดาวน์ปาร์ตี้ — 31 ธันวาคม
สำนักงานการท่องเที่ยวให้การสนับสนุนการจัดงานเคาท์ดาวน์ปาร์ตี้เพื่อรำลึกถึงการเริ่มต้นปีใหม่ในปฏิทินสุริยคติ โดยทุกคนสามารทร่วมงานได้ ไม่ว่าจะเป็น ชาวต่างชาติ และชาวหลวงหลวงพระบางเอง สถานที่จัดงานใกล้ตลาดกลางคืน ครงกันข้ามจากสำนักงานการท่องเที่ยว